ถูกจับในข้อหาอาชญากรสงคราม ร่วมทุกข์ร่วมสุขจอมพล ป. ของ สังข์ พัธโนทัย

หลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลง จอมพล ป. พิบูลสงครามประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รายการสนทนา นายมั่น นายคง ก็ยุติลงด้วย จอมพล ป. ขยับไปดูเชิงทางการเมืองที่เขากระโจน ในกองทหารปืนใหญ่ที่ลพบุรี และได้ชักชวนให้นายสังข์ไปอยู่ด้วย รวมถึงมีบัญชาให้นายสังข์ เข้าทำงานที่สถานีวิทยุลพบุรี หลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพาสงบลงในเดือน สิงหาคม 2488 เมื่อสหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมาและนางาซากิ ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้อย่างราบคาบและปราศจากเงื่อนไข ทหารญี่ปุ่นในไทยถูกปลดอาวุธ นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะหัวหน้าเสรีไทย ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินในขณะนั้น ได้ประกาศการประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐและอังกฤษให้เป็นโมฆะ และในฐานะที่จอมพล ป.ฯ เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ทำให้จอมพล ป. และบริวาร รวมถึงนายสังข์ จะต้องตกอยู่ในฐานะอาชญากรสงครามโลก เช่นเดียวกับฮิตเลอร์และโตโจ ซึ่งขญะถูกจับกุมคุมขังนั้น นายสังข์มีอายุเพียง 29 ปีเท่านั้น โดยนายสังข์ถูกส่งตัวมาขังที่สันติบาล ส่วนจอมพล ป. ถูกขังอยู่ที่โรงพักศาลาแดง แต่ได้ขอไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ช่วยส่งตัวนายสังข์มาคุมขังที่โรงพักศาลาแดงเพื่อมาอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งหลังจากติดคุกอยู่ด้วยกันเพียงไม่กี่วัน ตำรวจก็ส่งตัวผู้ต้องขังทั้งหมดไปผลัดฟ้องศาล แล้วนำเข้าเรือนจำจังหวัดพระนคร – ธนบุรี การที่ประสบชะตาเดียวกันในคุก ทำให้จอมพล ป.ฯ และนายสังข์ รักใคร่สนิทสนมกันมากราวกับบิดาและบุตรเลยทีเดียว และในวันที่ 12 มกราคม 2489 ศาลฎีกาก็ได้ตัดสินให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีอาชญากรสงครามทั้งหมด โดยหลักกฎหมายที่ว่า รัฐบาลออกกฎมาเพื่อมีจุดประสงค์เพื่อยิงเป้าจอมพล ป. ฯ และพรรคพวก ใช้บังคับย้อนหลังไม่ได้ ทั้งหมดจึงได้รับการปล่อยตัว